พุยพุย

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559 ( 8:30 - 11:30 )
เนื้อหาที่เรียน

บทที่ 3 การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

ก่อนเรียน อาจารย์ให้เล่นเกมทดสอบและส่งเสริมการสื่อสาร









ความหมายของการสื่อสาร

• การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

ความสำคัญของการสื่อสาร

1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

รูปแบบของการสื่อสาร

รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล (Aristotle’s Model of Communication)




รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล (Lasswell’s Model of Communication) 


รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ (Shannon & Weaver’s Model of Communication) 


รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์ (C.E Osgood and Willbur Schramm’s )

รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล (Berlo’s Model of Communication) 


องค์ประกอบของการสื่อสาร

1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

สื่อ

ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

สาร

• เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

2. เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ

3. เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตาม ที่ผู้ส่งสารต้องการ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข


ประเภทของการสื่อสาร

1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร  
      -การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) 
      -การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)

2.จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
     -การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) 
     -การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) 

3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
     -การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
     -การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
     -การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)


ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง

• เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
• มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
• เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
• เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
• ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
• เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง1. ความพร้อม คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
2.ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข
3.อารมณ์และการปรับตัว
4.การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
5.การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
6.ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ
7.ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ


7 c กับการสื่อสารที่ดี

Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ

คำถามท้ายบท

1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป 

ตอบ      การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร 

ตอบ   1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม  
           2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2ฝ่าย 
          3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
         4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
         5. เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต


3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง 

    ตอบ   รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล เนื่องจากเป็นการที่ง่าย

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร 

ตอบ     เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก   เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก    เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ   เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด    ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน   เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

    ตอบ


ประยุกต์ใช้

นำไปให้ความรู้กับผู้ปกครองได้ และเป็นการเรียนรู้พฤติกรรมและธรรมชาติของผู้ปกครองด้วย



การประเมิน

ประเมินอาจารย์ 100 %

ประเมินตนเอง 100 %

ประเมินเพื่อน 100 %



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น